ใช้งานWindowsXPอยู่ดีๆจู่ๆ วินโดวส์กลับทำงานได้อืดลงเรื่อยๆ จนเปิดดูข้อมูลในโฟลเดอร์ได้ช้ากว่าที่เคยเป็น หรือความเร็วในการสูบไฟล์ทอเร้นต์ตกฮวบลงมาเอาดื้อๆ ซึ่งบางทีก็อาจเป็นปัญหาทางเทคนิคอย่างชุมสายมีปัญหา หรือไม่อย่างนั้นก็อาจเป็นปัญหาที่มาจากวินโดวส์ของคุณเองเข้าก็ได้ (แต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสียหรอกนะครับ) ซึ่งถ้าเป็นปัญหาอย่างหลังนี้ละก็ มีวิธีเสริมพลังเด็ดๆ มาแนะนำให้คุณสำหรับพาวเวอร์อัพวินโดวส์เอ็กซ์พี ให้แรงเร็วแบบไร้สะดุดสำหรับการใช้งานโดยเฉพาะเลยครับ
ปรับแต่งวินโดวส์ XP ให้สดใสว่องไวเหมือนใหม่เมื่อ เราใช้งานคอมพิวเตอร์ไปนานๆ เข้าก็คงเริ่มรู้สึกได้ทันทีว่าการทำงานของมันเริ่มจะอืดขึ้นเรื่อยๆ ดีไม่ดีคุณจะพบว่ามันอืดกันตั้งแต่ช่วงเปิดเครื่องเพื่อโหลดเข้าหน้าต่าง วินโดวส์กัน
เลยทีเดียว อันที่จริงแล้วอาการช้าของมันที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้นก็มาจากการใช้งานอันหนักหน่วงข
องยูสเซอร์นี่เอง
ไม่ ว่าจะเป็นการลงโปรแกรมใหม่ๆ อัดเข้าไปเยอะแยะ การสั่งใช้งานให้โปรแกรมรันบน System Tray แบบเงียบๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัว ไฟล์ขยะที่หลงเหลือจากการทำงานหรือการท่องอินเทอร์เน็ต ไม่ก็เปิดเอฟเฟ็กต์บนวินโดวส์ไว้เต็มอัตราศึกโดยไม่จำเป็น ฯลฯ ทั้งหมดที่ว่ามานี้เป็นเพียงส่วนย่อยเพียงหยิบมือของสาเหตุที่ทำให้วินโดวส์ ทำงานช้า
ลง ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าครับว่าต้องทำอย่างไรบ้างวินโดวส์ตัวเก่งของเราจึงจะกลับมาแ
รงเร็วเหมือนใหม่กันอีกครั้ง
1.เพิ่มพื้นที่ว่าง (ไว้หายใจ) ให้ฮาร์ดดิสก์
สิ่ง ที่หลายคนลืมนึกถึงกันก็คือเรื่องใกล้ตัวอย่างพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ครับ ยิ่งมีพื้นที่เหลือไว้มาก การทำงานของวินโดวส์ก็จะไวขึ้นตามไปด้วย อย่าลืมครับว่าวินโดวส์นั้นทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์หลายอย่าง ทั้งการใช้เป็นพื้นที่หน่วยความจำเสริมชั่วคราว (เมื่อแรมไม่พอ) ใช้เป็นที่จัดเก็บ System Restore สำหรับป้องกันเวลาวินโดวส์มีปัญหา และเรื่องจุกจิกอีกมากมาย ดังนั้นการเคลียร์ขยะและโปรแกรมใช้งานที่ไม่จำเป็นออกไปจากฮาร์ดดิสก์จะช่วย ให้การทำ
งานของวินโดวส์ไหลลื่นมากขึ้นซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีดังต่อไปนี้ครับ
ไป ยัง Start Menu-> All Programs-> Accessories-> System Tools-> Disk Cleanup เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาค่าพื้นที่ฮาร์ดดิสก์คร่าวๆ ที่คุณจะได้คืนมาจากการลบไฟล์ขยะและโปรแกรมพื้นฐานบนวินโดวส์ที่ไม่จำเป็น กับคุณ เช่นไฟล์ Temporary หรือขยะใน Recycle Bin โดยสามารถเลือกลบไฟล์และโปรแกรมได้จากหน้าต่าง Disk Cleanup นี้เลย
ลบ ไฟล์ขยะโดยไปที่ Start Menu-> Run พิมพ์ %temp% กดปุ่ม ok จะเห็นว่ามีไฟล์ขยะยั้วเยี้ยไปหมดดังนั้นจัดการลบมันทิ้งไปจากโฟลเดอร์นี้ ให้เรียบอา
วุธซะ (ก่อนลบให้แน่ใจว่าไม่ได้เปิดโปรแกรมอะไรอยู่ด้วยนะครับ)
ลบ โปรแกรมที่ไม่จำเป็นออกไปจากเครื่องบ้างโดยไปที่ Start Menu-> Control Panel-> Add or Remove Programs แล้วลองตรวจดูว่าคุณมีโปรแกรมไหนบ้างที่ลงไว้แล้วไม่ได้แตะมันเลย ลบไปบ้างครับอย่าเสียดายโดยใช่เหตุ (ผมเห็นเพื่อนผมมันลงโปรแกรมดูหนังไว้สองสามตัวแต่เปิดใช้บ่อยแค่ตัวเดียว ... เพื่ออะไรเนี้ย -*-)
ปรับลดพื้นที่ของ System Restore โดยคลิ้กขวาที่ไอคอน My Computer บนเดสก์ทอปเลือกเมนู Properties-> System Restore จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม Settings เพื่อปรับลดขนาดพื้นที่ซึ่งวินโดวส์จองไว้บนฮาร์ดดิสก์ให้ลดลงมาประมาณที่ 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ (จาก 12 เปอร์เซ็นต์) ความจริงจะปิดการทำงานของมันไปเลยก็ได้เพราะจะได้พื้นที่คืนมาเยอะแยะเลย แต่ไม่แนะนำครับ
ลบโปรแกรมที่มาพร้อมกับวินโดวส์ XP ออกไป เนื่องจากโปรแกรมที่มากับตัววินโดวส์นั้นจะไม่มีรายการใน Add Remove เพราะถูกซ่อนเอาไว้ ดังนั้นเราต้องไปลากมันออกมาโดยไปที่ Start-> Setting-> Control Panel-> Folder option เลือกแท็บ view แล้วติ้กเลือก show hidden files... เพื่อให้วินโดวส์โชว์ไฟล์ที่ซ่อนไว้
จาก นั้นไปที่ Start-> Run พิม inf หาไฟล์ sysoc.inf ดับเบิลคลิ้กเปิด notepad แล้วมองหาโปรแกรมที่ต้องการลบ เมื่อเจอให้ลบคำว่า hide ออกไป (เฉพาะโปรแกรมที่ต้องการลบ) เสร็จแล้วจัดการเซฟ สุดท้ายไปที่ Add Remove เพื่อลบมันออกไป
ปรับขนาดของถังขยะ Recycle Bin เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้งาน โดยคลิ้กขวาที่ถังขยะ เลือกไป Propoties ปรับตรงเปอร์เซ็นต์ (จากเดิมคือ 20%) ปรับเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเพิ่มพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 16 เปอร์เซ็นต์เชียวครับ
สุดท้ายเป็นการลบขยะในรีจีสทรีซึ่งเป็นไฟล์ของระบบที่มีการเก็บค่าการลงทะเบียนหรือค
่าตั้ง ต้นต่างๆ ของโปรแกรมที่ติดตั้งลงในเครื่อง ในเวลาที่คุณลบโปรแกรมออกไปบางครั้งมันจะยังมีสิ่งหลงเหลือฝากไว้ เมื่อผ่านไปนานเข้าจะทำให้รีจีสทรีมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ขยะเหล่านั้น จะส่งผลให้เครื่องทำงานช้าลง หากลบออกก็จะช่วยลดเวลาในการอ่านรีจีสทรี ของวินโดวส์ลงด้วย แต่การแก้ไข รีจีสทรีเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับมือใหม่ ถ้าลบผิดไปละก็อาจทำให้ถึงกับบูตเครื่องไม่ติดเลยก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีใช้โปรแกรมช่วยจะลดการเสี่ยงได้มากกว่าครับ โดยใช้ Easy Cleaner (http://www.docsdownloads.com/download/EClea2_0.exe) ขนาด 2.81 เมกะไบต์
เปิด โปรแกรม Easy Cleaner 2.0 ขึ้นมาแล้วเลือกไอคอนรีจิสทรี จากนั้นคลิ้กปุ่ม Find เพื่อค้นหาขยะในรีจิสทรีที่เหลือติดค้างอยู่แล้วรอโปรแกรมค้นหาสักพัก จากนั้นกดปุ่มลบทิ้งให้หมดเป็นอันเสร็จ
2. สวยน้อยหน่อย เร็วขึ้น (อีก) หน่อย
ถึง แม้ว่าวินโดวส์เอ็กซ์พีจะมีอินเทอร์เฟซและเอฟเฟ็กต์สวยงามสู้วิสต้าไม่ติด ฝุ่น แต่มันก็สามารถทำให้เครื่องคุณอืดได้อยู่ดี (แต่ก็น้อยกว่าวิสต้าละ...) ทว่ามีเอฟเฟ็กต์หลายๆ ตัวที่ดูไม่จำเป็นนักเพราะถ้าไม่สังเกตกันดีๆ ก็แทบมองไม่เห็นเลยด้วยซ้ำไป ดังนั้นเราจะมาปิดมันลง ณ บัดนาว
คลิ้กขวาที่ไอคอน My Computer เลือกเมนู Properties-> Advanced ตรงหัวข้อ Performance คลิ้ก Settings ทีนี้สังเกตดูจะเห็นว่ามี 4 หัวข้อหลักสำหรับปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ 1. Let Windows choose what's best for my computer การให้วินโดวส์เลือกฟังก์ชันที่เหมาะสมกับเครื่องของคุณเองอัตโนมัติ 2. Adjust for best appearance สั่งปรับเอฟเฟ็กต์ทั้งหมดแบบสวยเต็มสูบ (แต่อาจทำให้การทำงานช้าลงบ้างสำหรับเครื่องสเปกต่ำ 3. Adjust for best performance เป็นการสั่งปรับให้ลดความสวยลงเพื่อเน้นการทำงานที่รวดเร็ว และ 4. Custom เอาไว้ปรับแต่งเพิ่มลดเอฟเฟ็กต์กันเอาเอง
3. ย้ายหน่วยความจำเสมือน ลดภาระไดร์ฟระบบ
ไดรฟ์ ระบบ (ไดรฟ์ที่ลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์) จะเป็นไดรฟ์ที่ต้องรับภาระหนักทั้งการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ หรือกระทั่งไฟล์ระบบ อีกทั้งยังต้องเผชิญปัญหาเรื่องข้อมูลที่กระจัดกระจาย (Fragment) ซึ่งเกิดจากการที่ไดรฟ์มีการอ่านเขียนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าการทำงานจะยิ่งช้าลงเรื่อยๆ หากคุณไม่จัดเรียงข้อมูลให้กับมันบ้าง (Defragment) เพื่อให้สามารถเรียกอ่านข้อมูลได้ไวขึ้น และถ้าจะให้ดีก็ควรย้าย Pagefile (ซึ่งมีการอ่าน-เขียนไฟล์บ่อยๆ) ไปไว้ยังไดรฟ์อื่นที่ไม่ใช่ไดรฟ์ระบบเพื่อเป็นการลดภาระลงและช่วยให้การทำ งานรวดเร็ว
ขึ้น
คลิ้กขวาที่ไอคอน My Computer เลือกเมนู Properties-> Advanced-> Performance กด Settings ตรงแท็บ Advanced หัวข้อ Vitual Memory เลือกคลิ้กปุ่ม Change เลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิ้กเลือกที่ No paging file แล้วกดปุ่ม Set เพื่อลบค่าที่ตั้งไว้
เลือก ไดรฟ์อื่นที่คุณจะใช้จัดเก็บ Pagefile แทน (เช่น D:, E:, F) กดเลือก Custom size ปรับขนาดให้เหมาะสมทั้งค่า Initial size และ Maximum size จากนั้นกดปุ่ม Set เพื่อตั้งใช้ค่าที่ระบุลงไป
การตั้งค่า Initial size และ Maximum size ที่เหมาะสมนั้นให้คุณดูจากแรมที่มีในเครื่องของคุณเป็นหลักครับ หากว่ามีแรมน้อยกว่า 512 ให้เอาความจุแรมไปคูณกับ 1.5 เช่น แรม 256 จะเท่ากับ 256*1.5 = 384 ซึ่ง Initial size จะใส่ไป 256 ส่วน Maximum size เป็น 384 ยกเว้นว่าคุณมีแรมมากกว่า 512 อันนี้ให้ใส่ค่าแรมลงไปที่ Initial size ได้เลย ดังในรูปตัวอย่าง เครื่องผมมีแรมอยู่ 2 กิกะไบต์ = 2046 ดังนั้นค่า Maximum size ผมจะบวกเพิ่มไป 1 เท่าคือ 4092 นั่นเอง
การจัด เรียงไฟล์จะช่วยให้ระบบทำงานเร็วขึ้น Paging file ก็เหมือนกันครับ แต่ Defragment ของ Windows จะไม่สามารถจัดเรียงไฟล์ Paging file ได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีโปรแกรมเฉพาะสำหรับมันโดยเฉพาะ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://download.sysinternals.com/Files/PageDefrag.zip ครับ (ขนาด 70 กิโลไบต์)
การ ใช้งานนั้นไม่ยากเย็นเลย เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาผมแนะนำให้คุณติ๊กเลือกไว้ที่ Defragment at next boot เพื่อสั่งให้มัน Defragment แบบอัตโนมัติเมื่อบูตเข้าวินโดวส์ครั้งถัดไป
4. รีดเค้นประสิทธิภาพหน่วยประมวลผลสำหรับคอเกม
ปกติ แล้วสำหรับคอเกมเครื่องคอมพ์ที่ใช้ก็มักจะต้องเร็วแรงอยู่พอสมควร (สำหรับยุคนี้และยุคถัดๆ ไป...) แต่ใช่ว่าคอเกมจะซื้อคอมพ์มาเพื่อเล่นแต่เกมโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่ที่ผมพบเจอก็คือ พวกเขามักจะโหลดบิต ไม่ก็เปิดโน่นเปิดนี่ทิ้งไว้ไปด้วยในขณะที่เล่น และส่วนมากก็มักจะเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถรันได้ในโหมดแบ็กกราวนด์ (อย่างโปรแกรมแอนติไวรัส) ซึ่งแน่ละ มันต้องดึงประสิทธิภาพหน่วยประมวลผลไปพอสมควรและอาจเป็นสาเหตุให้เกมที่เล่น มีอาการก
ระตุกเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจะมาดูวิธีสั่งให้หน่วยประมวลผลทุ่มพลังเต็มที่กับการทำงานให้กับงานหรือส
ิ่ง ที่คุณกำลังทำอยู่ในขณะนั้นโดยไม่ต้องไปวุ่นวายกับเรื่องอื่นที่ไม่จำเป็น กันครับ (แต่จริงๆ แล้วถ้าไม่จำเป็นมากนัก ควรปิดโปรแกรมที่ยังไม่จำเป็นลงไปก่อนเล่นจะดีที่สุดละครับ)
ไปที่เมนู Start-> Run พิมพ์คำสั่ง Rundll32.exe advapi32.dll, ProcessIdleTasks แล้วกด OK
เปิด การทำงานของ L2 Cache ซึ่งก็คือหน่วยความจำสำรองระดับที่ 2 ซึ่งตามปกติจะมีไว้สำหรับแก้ปัญหาเรื่องคอขวด โดยทำหน้าที่เก็บข้อมูล คำสั่งที่จำเป็นต่อการประมวลผล (หรือคาดว่าจะถูกใช้งาน) ทำให้หน่วยประมวลผลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ซีพียูโดยปรับขนาดของ Cash L2 ที่เหมาะสมได้โดย คลิ้กที่ Start-> Run พิมพ์คำว่า regedit แล้วคลิ้กปุ่ม OK
ไปที่ HKEY_LOCAL_MACHIN-> SYSTEM-> CurrentControlSet-> Control-> Session Manager-> Memory Management ตรงหน้าต่างด้านขวา ให้คลิ้กขวาที่ SecondLevlData... เลือกคำสั่ง Modify
ที่หน้าต่าง Edit DWORD Value ตรงหัวข้อ Base ติ๊กเลือก Decimal จากนั้นไปที่หัวข้อ Value data : ใส่ค่าให้กับ Cache L2 ซึ่งตรงนี้อาจต้องดูจากคู่มือเมนบอร์ดหรือซีพียูว่ามีค่า Cache L2 เท่าไร ก็ใส่ค่าลงไป เช่น 256 หรือ 512 เป็นต้น แต่ถ้าหาไม่ได้คงต้องดาวน์โหลดโปรแกรม CPU-Z เพื่อดูค่าเอาเอง โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.cpuid.com/
เมื่อ ดาวน์โหลดมาเรียบร้อยให้คลายซิปแล้วเข้าไปดับเบิลคลิ้กที่ไอคอน cpuz.exe จากนั้นรอสักพักหน้าต่างแสดงผลจะเปิดขึ้นมา ให้คุณตรวจดูที่หัวข้อ Cache โดยดูที่ Level 2 ก็จะเห็นค่าของมัน (ดังในภาพ ของผมจะอยู่ที่ 512) จากนั้นเอาค่านี้มาใส่ลงไปที่ Value data : แล้วกด Ok แล้วรีสตาร์ตวินโดวส์เป็นอันเรียบร้อยครับ
5. Cleanup เซอร์วิสและสตาร์ตอัพโปรแกรม
สำหรับ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและระดับกลางส่วนใหญ่ อาจมีไม่น้อยเลยที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองต้องเสียทรัพยากรในการประมวลผลให้กับ โปรแกรมไ
ร้สาระอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องโดยที่ไม่เคยได้ใช้งานมันเลย สักครั้งเดียว นั่นก็คือพวกโปรแกรม Services ต่างๆ ของวินโดวส์ที่มักจะรันตัวเองอยู่ตลอดเพื่อเตรียมรับมือกับคำสั่งใช้งานของ คุณ (ซึ่งอาจไม่เคยมี) ถึงแม้จะมี Services บางตัวที่จำเป็นต่อการใช้งาน แต่ก็เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น ดังนั้นเรามาดูวิธีปิดการทำงานของ Services ที่เกินความจำเป็นเหล่านี้กันครับ
เปิด Control Panel ขึ้นมา เลือกไอคอน Administrative Tools-> Services จะเห็นลิสต์รายชื่อของ Services อยู่เต็มไปหมด
คุณ สามารถอ่านคำอธิบายการทำงานของมันได้ที่ Description ซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจความสำคัญของ Services แต่ละตัวได้เป็นอย่างดีว่าควรที่จะปิดมันไว้หรือไม่ และตัวไหนที่กำลังทำงานอยู่ (ดูจาก Status) เช่นพวก Printer, Broadband Connection, Networking หรือ routing
Services อันไหนที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้ให้ปิดมันลงไปโดยการดับเบิลคลิ้กที่ Services ตัวนั้นๆ เพื่อเปิดหน้าต่างกำหนดค่าขึ้นมา โดยปรับได้ตรงดรอปดาวน์เมนูที่หัวข้อ Startup Type เลือก Disable คลิ้ก Apply และ OK ทำแบบนี้กับ Services ที่ต้องการปิดจนครบก็เรียบร้อย
นอก จากโปรแกรม Services แล้ว พวกโปรแกรมที่รันตัวเองอัตโนมัติหลังเปิดหน้าต่างวินโดวส์ที่เรียกกันว่า Startup Programs ก็จัดเป็นตัวหน่วงชั้นแนวหน้าที่ทำให้เครื่องคุณช้าลง ดังนั้นต้องจัดการมันเสีย
ไปที่ Start-> Run พิมพ์คำสั่ง msconfig แล้วกดปุ่มเอ็นเทอร์เพื่อเปิดหน้าต่าง System Configuration Utilty ให้ไปยังแท็บ Startup คลิ้กที่ Disable All
คลิ้ก Apply ตามด้วย OK แล้วคลิ้ก Yes เพื่อ Restart เครื่อง
6. เร่งพลัง RAM ทุกรูขุมขน
การจัดสรรการทำงานของแรมซึ่งเป็นหน่วยความจำหลักเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถ
ใช้ งานโปรแกรมหรือแม้แต่เล่นเกมที่สูบสเปกสูงๆ ได้ราบรื่นมากขึ้น ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะมาเสริมพลังให้มันทำงานได้อย่างราบรื่น มากขึ้น ด้วยโปรแกรม Cacheman 5.50 ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.outertech.com/index.php?_charisma_page=downloads (927 กิโลไบต์) โดยเลือกชื่อโปรแกรมจากดรอปดาวน์เมนูและทำตามขั้นตอนไปจนครบ 3 สเต็ปเท่านี้ก็ดาวน์โหลดได้แล้ว จากนั้นติดตั้งให้เรียบร้อยและรันโปรแกรมขึ้นมาเลยครับ
ตรงแถบไอคอน เมนู Settings ด้านขวาคลิ้กเลือก RAM จากนั้นตรงแท็บ Recovery ที่หัวข้อ Memory amount คลิ้กที่ User defined แล้วใช้เมาส์เลื่อนแถบสไลด์บาร์มาไว้ด้านขวามือสุด พร้อมทั้งเอาเครื่องหมายถูกออกจากกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างให้หมด ยกเว้นที่ช่อง Extreme recovery mode
คลิ้กเลือกแท็บ Optimization ติ้กเครื่องหมายถูกตรง Disable executive paging และ Unload DLL's from memory
ไปที่เมนู File เลือก Save setting คลิ้ก Yes แล้วรีสตาร์ตเครื่อง
หลัง จากรีสตาร์ตเครื่องแล้ว เวลาจะใช้งานให้เรียกเปิดโปรแกรม มันจะรันอยู่บน System Tray จัดการคลิ้กขวาที่ไอคอนโปรแกรมแล้วเลือกคำสั่ง Recover Memory Now โปรแกรมจะจัดสรรหน่วยความจำตามค่าที่ตั้งเอาไว้ให้ทันที
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป
2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดู ก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น
3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหน มีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการ ผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่าง ผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา
5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที......