รวมทิปต่างๆของคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คเอาไว้ที่นี้ ทั้งทิปแก้ไข ทิปปรับแต่ง ทิปซ่อมแซม ทิปอัพเกรด ทิปบำรุงรักษา..

Tip ศึกษาก่อนเลือกซื้อ VGA ,GPU


Tip ศึกษาก่อนซื้อ VGA (Display Card) กราฟิกการ์ด

การ เลือกซื้อกราฟิกการ์ดในตลาดเวลานี้ การ์ดระดับกลางจะดูค่อนข้างโดดเด่นมากทีเดียว ด้วยความที่มีรุ่นให้เลือกเยอะและมีลูกเล่นที่หลากหลาย ในราคาที่ไม่สูงเกินไปนัก หากเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้ จึงทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การ์ดระดับบนก็ถือว่ามีบทบาทมากขึ้นทุกขณะด้วยความต้องการของเกมที่ใช้ ทรัพยากรสูงขึ้นทุกที ดังนั้นแล้วการเลือกใช้ก็ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนสิ่งที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อ เลือกซื้อมีดังนี้

อินเทอร์เฟช
แน่นอนว่าก่อนซื้อก็คงต้องตรวจสอบดูก่อนว่าใช้เมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบใด ปัจจุบันมีทั้งแบบ PCI-Express 16x ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป และอีกแบบหนึ่งคือสล็อต AGP8x ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่ Socket 775 และ 939/ AM2 ซึ่งผู้ใช้ควรต้องพิจารณาก่อนการเลือกซื้อด้วย
นอกจากนี้ในเรื่องการเลือกให้สังเกตด้วยว่าการ์ดที่ซื้อมามีช่องต่อเพาเวอร์ หรือไม่ เพราะการ์ดรุ่นใหม่หลายรุ่น มักต้องใช้ไฟเพิ่มจากปกติ ซึ่งอาจจะเป็น Molex-4-pins หรือ 6-pins

การระบายความร้อน
ชุดระบายความร้อน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกราฟิกการ์ด ไม่ต่างไปจากฮีตซิงก์ของซีพียู เนื่องจาก GPU เอง ก็มีคาปาซิเตอร์จำนวนนับล้านไม่ต่างไปจากซีพียู ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูง การระบายความร้อนที่ดีจะช่วยให้การ์ดทำงานได้ยาวนานขึ้น โดยการระบายความร้อนของการ์ดจะมีให้เลือกทั้งแบบ ฮีตชิงก์พัดลมและฮีตไปป์ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอุณหภูมิในห้องสูง การเลือกฮีตซิงก์พัดลม ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากมีการระบายความร้อนจากตัวฮีตซิงก์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะเกิดเสียงรบกวนอยู่บ้างแต่ถ้าในห้องมีการปรับอุณหภูมิ การใช้ฮีตไปป์ก็จะช่วยลดการใช้พัดลมลง เสียงรบกวนก็น้อยลงเช่นกัน แต่ทั้งสองรูปแบบ ก็คงต้องอาศัยการจัดทิศทางลมภายในเคสที่ดีด้วย

Hyper Memory/ Turbo Cache
สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ บนกราฟิกการ์ดราคาประหยัดก็คือ การมีหน่วยความจำเพียง 64MB หรือ 256MB เท่านั้น ซึ่งบางครั้งการใช้งานร่วมกับเกมหรือโปรแกรมสามมิติแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นแล้วผู้ผลิต จึงได้ใส่เทคโนโลยีดังกล่าวมาให้ ด้วยฟีเจอร์ในการเพิ่มขนาดบัฟเฟอร์ให้มีมากขึ้น โดยการนำหน่วยความจำหลักหรือแรมมาใช้ร่วมได้ ซึ่งจะระบุฟีเจอร์และขนาดของแรมที่จะแชร์ได้ไว้ที่หน้ากล่องโดยของทาง ATI จะเรียกว่า Hyper Memory ส่วนทาง nVIDIA ใช้ชื่อว่า TurboCache นั่นเอง ทั้งสองรูปแบบนี้ จะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน และจะแชร์หน่วยความจำได้ตั้งแต่ 256MB/512MB ไปจนถึง 1GB ขึ้นอยู่กับการติดตั้งหน่วยความจำหลักในเครื่องไว้มากน้อยเพียงใด การ์ดในรูปแบบดังกล่าวนี้ จัดอยู่ในกลุ่มราคาประหยัด ที่ไม่ได้เน้นการเล่นเกมมากนัก ด้วยราคาที่ถูกมากๆ จึงทำให้ได้รับความสนใจอยู่มากทีเดียว

vga

SLI/ CrossFire
หากจะใช้ฟังก์ชัน SLI หรือ CrossFire ก็ควรตรวจสอบการสนับสนุนของเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ด้วย ซึ่งเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตจากค่าย nVIDIA ส่วนใหญ่ก็จะสนับสนุนฟังก์ชัน SLI ไม่ว่าจะเป็น nForce4 SLI, 570 SLI, 590 SLI สำหรับค่าย AMD แต่สำหรับซีพียูอินเทลจะมีในรุ่น 680 SLI ทั้งนี้ให้สังเกตที่สล็อต PCI-Express จะมีให้ 2 ช่องและ 3 ช่อง สำหรับ Triple SLI บนชิปเชต 780 SLI
ส่วนเมนบอร์ดที่รองรับ CrossFire ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับซีพียูค่ายอินเทล ประกอบไปด้วย 965P, 975X, P35, X38 และX48 การใช้งานก็เพียงต่อพ่วงบริดจ์ (Bridge) ระหว่างการ์ดเข้าด้วยกันเท่านั้น

กราฟิกการ์ดราคาประหยัด

nVIDIA : GeForce 7300/ 7600/ 8400
ATI : RADEON HD2400

การ์ด ในกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับการเล่นเกมพื้นฐานทั่วไป รวมทั้งเกมวางแผนในแบบ RTS ไม่ว่าจะเป็น Earth of Empire, Battle field หรือ Company of Heroes ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการประมวลผลมากนัก แต่ อาศัยบัฟเฟอร์ในการจัดการระบบยูนิตมากกว่า รวมถึงการรองรับกับเกมออนไลน์ได้ดีพอสมควร คุณสมบัติหลักๆ ของการ์ดรุ่นนี้คือ หน่วยความจำ GDDR2 (64-bit และ 128-bits) ราคาเริ่มต้นที่ 1,000 – 2,500 บาทเท่านั้น

กราฟิกการ์ดสำหรับเกมเมอร์ระดับกลาง

nVIDIA : GeForce 8500GT/ 8600GT/ GTS
ATI : RADEON HD2600/ 3850

การ์ดระดับกลางนี้ รองรับกับเกมได้เกือบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเกมเดินหน้ายิง วางแผน อันเป็นเกมที่ต้องอาศัยเอนจิ้นหรือ AI ในการคำนวณ รวมถึงการเรนเดอร์พื้นผิวและเอฟเฟ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นเกม Call of Duty, Crysis, Sprinter Cell หรือ BioShock แต่การเล่มเกมก็อาจปรับที่ความละเอียดที่สูงกว่า 1280 x 1024 ได้ไม่ยาก แต่ในเรื่องเอฟเฟ็กต์ต่างๆ อาจทำได้ไม่เต็มที่ แต่สำหรับเกมออนไลน์การ์ดระดับนี้เล่นได้สบาย
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์พิเศษ ในการถอดรหัสไฟล์ Hi-Def ได้อย่างสมบูรณ์ การ์ดในรุ่นนี้ มีทั้งแบบ GDDR2 และDDR3 (128-bits และ 256bits) ขึ้นอยู่กับรุ่นและราคา โดยที่การ์ด GeForce 8500GT/8600GT และ HD 2600XT/ HD 3850 มีราคาอยู่ที่ 4,000 – 6,500 บาท โดยประมาณ

กราฟิกสำหรับเกมเมอร์ระดับฮาร์ดคอร์

nVIDIA : GeForce 7900/ 8800
ATI : RADEON HD3870/ 2900
สำหรับตลาดบนที่มาแรงคงหนีไม่พ้น GeForce 8800GT/ GTS และ HD3870/ HD2900 ซึ่งการ์ดเหล่านี้ตอบสนองได้ดีกับหลายๆ เกม ไม่ว่าจะเป็น Call of Duty, Lost Planet หรือ Gear of War ด้วยคุณสมบัติของโครงสร้างภายในที่มี Pipeline และชุดประมวลผลทรงพลัง โดยเฉพาะกับ Stream Processor และหน่วยความจำในแบบ GDDR3 และ GDDR4 ที่มีตั้งแต่ 512MB ไปจนถึง 1GB (256-bits) และยังรองรับการทำงานร่วมไฟล์ Hi-Def ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้การ์ดกลุ่มนี้ค่อนข้างได้รับความนิยม แม้ว่าบางรุ่นจะมีราคาสูงกว่า 15,000 บาทก็ตาม
การ์ดระดับบนนี้ แน่นอนว่ารองรับกับเกมในปัจจุบันได้อย่างสบาย บนโหมดความละเอียดที่สูงระดับ 1600 x 1200 รวมถึงการเปิดเอฟเฟกต์ต่างๆ ที่กล่าวได้ว่าคุ้มค่ามาก สำหรับผู้ที่มีงบประมาณมากและต้องการความสวยงาม ต่อเนื่องของเกมอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY

My Profile
Tip computer Tip notebook
แหล่งรวมPrograms Softwares FreePrograms FreeDownload
.........................................................

FreePrograms FreeDownload

iphone all hardware

 

ชีวิตอิสระเคล็ดลับการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนอย่างสนุก

Tip computer Tip notebook

ผู้ติดตาม

free counters