Tip 10 วิธีเลือกจอ LCD แบบเซียนๆ
ถ้าคุณมีงบประมาณ เหลือเฟือก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการให้ทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากรสนิยมส่วนตัวแล้ว 10 วิธีพื้นฐานนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังกับจอ LCD ซื้อมาเลย
เทคโนโลยีมอนิเตอร์ LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น ...
1. ข้อดีและข้อเสียของจอภาพ LCD
จอภาพ LCD นั้นไม่ได้มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง และในบางเรื่องก็ด้อยกว่าจอภาพแบบ CRT ด้วยซ้ำ ดังนั้นคุณต้องทำความเข้าใจและถามตัวเองก่อนว่าต้องการข้อดีและยอมรับกับข้อ จำกัดของจอภาพได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดรำคาญใจในภายหลัง โดยข้อดีต่างๆ ของจอภาพ LCD ก็คือ
- มีขนาดเล็กและบาง ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากกว่า
- กินไฟน้อยกว่า
- สบายตากว่าเพราะภาพไม่มีการ Flicker
- (บางรุ่น) หมุนแสดงผลแนวตั้งได้
- น้ำหนักเบาและสามารถแขวนติดฝาผนังได้
- รูปภาพไม่มีการเสียรูปทรง
- ใช้งานพื้นที่เต็มขนาดจอภาพ
- ไม่มีคลื่นรบกวนจากอุปกรณ์รอบข้างโดยเฉพาะลำโพง
…..ส่วนข้อเสียก็มีเช่นกันคือ……
- มีมุมองที่จำกัดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
- ความคมชัดจะเปลี่ยนไปตามมุมมอง
- (ในขนาดที่เท่าๆ กับจอ CRT) จะมีราคาสูงกว่า
- (ส่วนใหญ่) มีเงาดำเมื่อภาพเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
- ความละเอียดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานมีเพียงค่าเดียว
2. ขนาดและความละเอียด
จอ ภาพ LCD แต่ละขนาดจะถูกออกแบบมา โดยให้มีค่าความละเอียดที่เหมาะสมและแสดงภาพได้อย่างชัดเจนเพียงแค่ค่าเดียว เท่านั้นโดยจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิตจะอ้างด้วยข้อความว่า Native Resolution (จอภาพ CRT ส่วนใหญ่จะระบุด้วยคำว่า ความละเอียดสูงสุด) เช่นจอภาพขนาด 17 นิ้วที่ส่วนใหญ่จะมีความละเอียด 1,280×1,024 พิกเซลหรือขนาด 15 นิ้วที่มีความละเอียด 1,024×768 พิกเซล ดังนั้นคุณจึงควรตรวจสอบความละเอียดที่จอภาพระบุด้วยว่าเพียงพอต่อความต้อง การหรือไม่ เพราะคุณจะไม่สามารถใช้ความละเอียดอื่นได้ หากต้องการภาพที่มีความชัดเจน
3. ความสว่าง
จอภาพที่ผู้ผลิตอ้าง ว่ามีความสว่างสูงจะเป็นหลักประกันได้ดีกว่าว่า คุณสามารถนำจอภาพ LCD ไปใช้งานได้ในทุกๆ ที่โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพแสงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่โล่งที่มีความ สว่างมากๆ อย่างเช่นบนสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจอภาพที่มีความสว่าง 300Cd/m2 (แคนเดลาร์ต่อตารางเมตรหรือ nits) จะแสดงภาพได้ชัดเจนกว่าและทำให้ไม่ต้องเพ่งมองเหมือนกับจอภาพที่มีความสว่าง เพียง 175Cd/m2 แต่สำหรับการใช้งานภายในบ้าน ที่ทำงานความสว่างสูงๆ นี้ก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไป
4. จุดเสีย (Dead Pixels)
ข้อบกพร่องของ จอภาพที่พบได้เป็นประจำก็คือ การมีผลึกเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างจุดสีมีสถานะเป็น ON หรือ OFF แบบถาวรแทนที่จะมีสถานะที่เปลี่ยนไปตามสัญญาณภาพที่ส่งมาแสดงที่หน้าจอ ซึ่งจุดเสียนี้จะเห็นเป็นจุดสีขาวสว่างๆ (หรืออาจเป็นจุดสีดำก็ได้) ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อให้สอบถามถึงเงื่อนไขการรับประกันและการเปลี่ยนจอ ภาพใหม่ให้แทนในกรณีที่จอภาพนั้นๆ มีจุดเสียเกิดขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ควรตรวจสอบดูก่อน ซึ่งวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดก็คือ การเปิดภาพหรือโปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำให้จอภาพแสดงสีขาวได้ทั่วทั้งจอภาพ แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนจอเปลี่ยนไปแสดงสีดำแทน ซึ่งถ้าจอภาพมีจุดเสียอยู่คุณก็จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
5. อัตราคอนทราสต์และมุมมอง
ถ้า คุณเลือกจอภาพ LCD ก็ให้ยอมรับกับข้อด้อยในเรื่องมุมมองก่อน แต่ถ้าทำใจลำบากก็ให้คุณตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตดูก่อนว่า จอภาพนั้นมีมุมมองที่กว้างมากพอทั้งในแนวตั้งและแนวนอนหรืออย่างน้อยที่สุด 120 องศาและถ้าเป็นไปได้ก่อนที่คุณจะซื้อให้ทดสอบด้วยการมองด้วยตาเปล่าในมุม ต่างๆ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย จากนั้นให้สังเกตดูว่าภาพที่เห็นนั้นยังคงมีความชัดเจนอยู่หรืออัตราคอน ทราสต์ของภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้จริงๆ
6. ความเร็วในการตอบสนอง
คุณสมบัติ เฉพาะของจอภาพ LCD ข้อนี้หมายถึงเวลาที่จุดพิกเซลใช้ในการเปลี่ยนสถานะ (ON/OFF) หรือถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือเวลาที่จุดพิกเซลหนึ่งๆ ใช้ในการเปลี่ยนจากการแสดงสีดำเป็นสีขาว ซึ่งหลายๆ คนน้ำตาตกมาแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ซื้อจอภาพ LCD มาเล่นเกมสามมิติหรือการแสดงผลในลักษณะอื่นที่ภาพมีการเคลื่อนที่อย่างรวด เร็ว โดยในจอภาพที่มีความเร็วในการตอบสนองที่ไม่เร็วพอนั้น ภาพที่ได้จะมีลักษณะที่เป็นเงาดำหรือที่เรียกว่า Ghosting เกิดขึ้นตามมาพร้อมกับภาพด้วย ดังนั้นคุณควรเลือกจอภาพที่มีความเร็วสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือ อย่างน้อย 16 มิลลิวินาทีหากคุณต้องการนำมาใช้งานในลักษณะดังกล่าว
7. การปรับ หมุนและแสดงผลในแนวตั้ง
ความ สามารถพิเศษของจอภาพ LCD ที่หาไม่ได้จากจอภาพแบบ CRT ก็คือ การหมุนแสดงผลในแนวตั้งซึ่งการแสดงผลลักษณะนี้จะทำให้คุณสามารถแสดงหน้า เอกสารต่างๆ หรือหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคลิกปุ่มเลื่อนขึ้นลงแต่ อย่างใด แต่อย่างไรก็ดีคุณสมบัตินี้จะมีเฉพาะจอภาพบางรุ่นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเท่า นั้น นอกจากนั้นคุณควรตรวจสอบก่อนด้วยว่า หลังจากที่หมุนแล้วจอภาพมีระบบล็อคที่แน่นหนา ไม่แกว่งไปแกว่งมาและที่สำคัญคุณยังปรับระยะก้มเงยลักษณะต่างๆ ได้โดยที่ไม่มีการติดขัดใดๆ
8. ระบบการควบคุม
แม้ว่าจอภาพจะถูก ตั้งค่ามาอย่างเหมาะสมแล้ว แต่ก็บ่อยครั้งที่คุณจำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติมดังนั้น นอกจากระบบอัตโนมัติสำหรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ ที่มีให้แล้ว จอภาพควรมีระบบควบคุมที่ใช้งานได้สะดวกด้วยหรืออย่างน้อยปุ่มปรับค่าต่างๆ ก็ควรอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ง่าย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คุณจะรู้สึกหงุดหงิดมากทีเดียวเมื่อต้องการปรับค่าแต่ละครั้งแม้ว่าจะต้อง การเพียงแค่เพิ่มความสว่างก็ตาม
9. พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ
การ เชื่อมต่อและแสดงผลโดยใช้สัญญาณภาพในระบบดิจิตอลนั้นจะให้ภาพที่มีคุณภาพสูง กว่าอนาล็อกทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจอภาพ LCD ที่คุณเลือกทำได้ให้ตรวจสอบด้วยว่านอกจากพอร์ต D-Sub แล้วจอภาพยังมีพอร์ต DVI ให้มาด้วย แต่อย่างไรก็ดีหากการ์ดแสดงผลที่คุณใช้ไม่มีพอร์ต DVI-I ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่คุณจะเลือกใช้จอภาพ LCD ที่มีพอร์ตสำหรับสัญญาณดิจิตอลเช่นนี้
10. การรับประกันจากผู้ขาย
เนื่อง จากจอภาพ LCD นั้นไม่แข็งแรงเหมือนกับจอภาพ CRT ดังนั้นคุณควรพิจารณาด้วยว่าจอภาพมีอายุการรับประกันที่นานพอ รวมถึงการส่งซ่อมในกรณีฉุกเฉินและตรวจสอบการเปลี่ยนอะไหล่สำคัญๆ อย่างเช่นหลอดไฟ Backlight สำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย..
.........................................................