ปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ
ความจุของฮาร์ดดิสก์
แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้ จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดย ความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
ความเร็วรอบสำคัญไฉน
สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทอปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดัง เช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร
บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด
คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว
Average Seek Time
เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14ms แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น
อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์
ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ
นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่
ฮาร์ดดิสก์ที่มี NCQ หรือที่เรียกว่า Native Command Queuing ซึ่งข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่มีเทคโนโลยีนี้คือ การปรับปรุงการจัดเรียงข้อมูลและการอ่านข้อมูลแบบใหม่ โดยมองชุดข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน รวมไว้ในจุดเดียวกัน จึงทำให้การอ่านข้อมูลมีความเร็ว ด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ประเภทสวยงาม ในแบบดังกล่าวนี้ Raptor X จากค่าย WD เป็นต้นแบบ ด้วยการผลิตให้ฝาด้านบนนี้ความใส จนมองเห็น Platter และ Spindle หมุนทำงานอยู่ เหมาะสำหรับเกมเมอร์หรือนักแต่งเคสที่ชอบความสวยงามแปลกใหม่แต่ราคาก็มหาโหด เช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์สุดอึด ปัจจุบันมีงานหลายส่วนที่มักใช้คอมพ์ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้เอง มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์สั้นลง ดังนั้นแล้วจึงมีการออกแบบฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่า Enterprise หรือที่เรียกว่า 24/7 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความทนทานสูง ใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยมีฮาร์ดดิสก์จาก WD ในรหัส RE และ Seagate Barracuda ES ทำตลาดอยู่
สุดท้ายจะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่มากถึง 32MB ซึ่งปกติจะมีเพียง 8MB หรือ 16MB เท่านั้น โดยมีในฮาร์ดดิสก์จากค่าย Seagate Barracuda 7200.11 ส่วนเรื่องราคาก็ไม่ถือว่าสูงมากนัก
วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ
สามารถใช้โปรแกรม HD Tune ทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ www.hdtune.xom หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage
ข้อมูลจาก : หนังสือช่างคอมพ์เลือกซื้ออุปกรณ์ COMPUTER.TODAY
Tip computer Tip notebook
แหล่งรวมPrograms Softwares FreePrograms FreeDownload